ในแต่ละวันประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันได้กว่าประเทศอื่นๆเกือบ 2 เท่าตัว
เช่น บรูไน และน้ำมันสำเร็จรูปยังเป็นสินค้าส่งออกอันดับที่ 5 ของไทย ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกมากกว่าข้าวเกือบ 2 เท่าตัว แต่ด้วยปัญหาการนำเข้าส่งออกที่ไม่ชอบมาพากลของบ้านเรา ทำให้คนไทยต้องจ่ายค่าน้ำมันในราคาสูงมากกว่าที่ควรจะเป็น ในขณะที่บริษัทน้ำมันบางรายกับร่ำรวยขึ้น
ยังคงเป็นคำถามที่ค้างคาใจ ว่าทำไมราคาที่ส่งออกน้ำมันไปขายยังต่างประเทศ จึงถูกกว่าน้ำมันที่โรงกลั่นน้ำมันขายในประเทศ หลายๆคนคงทราบกันดีว่าเพราะเหตุใด แต่อย่างไรก็ตามคงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่การเริ่มต้นส่งเสริมให้มีการลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยก่อน จากในอดีตก่อนที่รัฐบาลจะเปิดให้มีการลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทย เราต้องนำเข้าน้ำมันทุกชนิดจากประเทศสิงคโปร์
ต่อมาเมื่อมีนโยบายสร้างโรงกลั่นขึ้นมาเพื่อทดแทนการนำเข้า ก็ได้มีการกำหนดให้ตั้งราคาที่อิงกับน้ำมันในตลาดสิงโปร์ ซึ่งเป็นตลาดขายน้ำมันที่เป็นสากล และได้รับการยอมรับ ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันที่สร้างขึ้นในระยะแรกๆ ไม่ได้เป็นการลงทุนของผู้ประกอบการเพียงรายใดรายหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการลงทุนของนักธุรกิจหลายรายที่มาลงุทนร่วมกัน เมื่อกลั่นน้ำมันได้เท่าไร ผู้ที่ถือหุ้นก็จะนำน้ำมันไปขายตามจำนวนหุ้นของแต่ละบริษัท ซึ่งราคาเหล่านี้ก็จะมีการปรับขึ้นลงตามราคาตลาดโลกด้วย
อย่างไรก็ตามการส่งออกน้ำมันไปขายยังต่างประเทศนั้นไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการสร้างโรงกลั่นในไทย เพราะเราสร้างโรงกลั่นเพื่อนำมาทดแทนการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการส่งออกเหมือนโรงกลั่นอย่างในประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นทางด้านการส่งออกตลาดสิงคโปร์ย่อมได้เปรียบเราในทุกด้านอยู่แล้ว และเป็นผู้ที่ครอบครองตลาดด้วย
ในขณะที่ความต้องการน้ำมันของไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดเราก็ต้องกลับไปนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเหมือนในอดีต ซึ่งเป็นผลเสียต่อประเทศชาติ แต่ถ้าหากทางรัฐบาลหยุดแสวงหาผลกำไรโดยไม่สนใจถึงความเดือดร้อนของประเทศ และจำหน่ายน้ำมันให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด คนไทยก็จะไม่จำเป็นต้องจ่ายให้กับราคาน้ำมันที่แพงเกินจริงจากต่างประเทศอีกต่อไป